บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน (designer's role) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นำเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการออกแบบ เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง ผู้ออกแบบจำเป็นต้องให้คำแนะนำในการออกแบบกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา (content expert) ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากนักจนเกินไปผู้ออกแบบก็สามารถจัดทำได้อย่างอิสระมากขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาผู้ออกแบบสามารถที่จะทำงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาจากภายนอก และรับผิดชอบภาพระงานทั้งหมดเหมือนกับเป็นคนในสำนักงาน (in-house employers) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสำพันธ์ที่มีต่อผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาวิชา ดังตัวอย่างทั้งสาม (Seels and Glassgow, 1990 : 7-9)
1. ผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาและมีสมรรถภาพในการออกแบบการเรียนการสอนและเทคโนโลยี และเป็นผู้ที่รู้บทบาทของการออกแบบด้วยไม่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือด้านความรู้ความชำนาญทางเนื้อหาวิชา
2. ผู้ออกแบบการเรียนการการสอน ที่ได้รับการร้องขอให้ทำงานในด้านเนื้อหาที่อาจจะมีความคุ้นเคย แต่ผู้ออกแบบยังคงรู้สึกมีความจำเป็นที่จะทำงานกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา
3. ผู้ออกแบบอาจจะได้รับการร้องขอให้พัฒนาหรือวิจัยในด้านเนื้อหาที่ไม่มีความคุ้นเคย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกและทำงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจำนวนมาก
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้วิจัยและผู้ปฎิบัติ
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป
|
บทบาทของผู้วิจัย
|
บทบาทผู้ปฎิบัติ
|
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์
|
*ศึกษาวิธีการการระบุปัญหา
*ศึกษาผลของคุณลักษณะของผู้เรียน
*ศึกษาเนื้อหา
|
*ประยุกต์ใช้วิธีการระบุปัญหา
*กำหนดคุณลักษณะของผู้เรียน
*ใช้การวิจัยในเนื้อหาตามสาขาวิชา
|
ขั้นที่ 2 การออกแบบ
|
*ศึกษาตัวแปลในการออกแบบข่าวสาร
*พัฒนากลวิธีการเรียนการสอน
|
*ให้ผู้ปฎิบัติเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอน
|
ขั้นที่ 3 การพัฒนา
|
*ศึกษากระบวนการของทีม
|
*ทำงานกับผู้ผลิตในการพัฒนาสคลิป
|
ขั้นที่ 4การนำไปใช้
|
*ศึกษาชาติวงศ์วรรณาของตัวแปลในสิ่งแวดล้อม
*การระบุตัวแปลของการนำไปใช้ให้ได้ผล
|
*ออกแบบและจัดการสิ่งแวดล้อมและตัวแปลในการเรียนการสอน
|
ขั้นที่ 5 ประเมินผล
|
*ศึกษาข้อถกเถียงที่นำไปสู่การประเมิน
|
*ประยุกต์ทฤษฎีการประเมินผล
|
ที่มา : Barbara Seels, and Zita Glasgow, Exercises in instructional Design (Columbus, Ohio) Merrill Publoshing Company, 1990), p. 8.
สรุปได้ว่า บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอนมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา ผู้ออกแบบการเรียนการสอนมีบทบาทเป็นทั้งนักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอน (ID researcher) และนักปฎิบัติการออกแบบการเรียนการสอน (ID practitioner) โดยที่นักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอนสนใจศึกษาตัวแปลและพัฒนาทฤษฏีที่สัมพันธ์กับการเรียนการสอนสนใจประยุกต์งานวิจัย และทฤษฏีพัฒนาการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์มีบทบาทเป็นผู้รู้ทั่วๆไป (Generalist)
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น