องค์ความรู้ประจำสัปดาห์

Week 2 ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน

ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน

        การลงทุนที่ประสบผลสำเร็จ หมายถึงการที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้ประโยชน์หากเปรียบเทียบกับการทำงานทางธุรกิจแล้ว ประโยชน์ย่อมหมายถึงกำไร เจ้าของกิจการได้กำไร ลูกค้าพอใจในราคา คุณภาพ และบริการ คนงานและลูกจ้างได้รับค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสม และมีความรู้สึกที่ดีต่อบริษัท ในทำนองเดียวกัน นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์จากการเรียนการสอนไม่มากก็น้อย ดังที่ ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้กล่าวว่า
                1.ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกษาและการเรียนการสอนย่อมต้องการความมั่นใจในประสิทธิภาพ และประสิทธิภาพของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
                2. นักออกแบบการสอน ย่อมต้องการความมั่นใจว่า โปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรมที่น่าพอใจ ซึ่งบ่งชี้ที่สำคัญในความพอใจก็คือผู้เรียนามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
                3. ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถอื่นๆ ที่จำเป็น รวมทั้ง ต้องการมีวามสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน


                4.ผู้เรียนต้องการความสำเร็จในการเรียน ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนานและพอใจ (ไชยยศ2533 : 14)
            
        การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน จะทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ เพราะการประเมินผลเพื่อการประเมินผลเพื่อปรับปรุการเรียนการสอนอาศัยการประเมินตัวต่อตัว ประเมินกลุ่มย่อยและการทดลองภาคสนาม การออกแบบการเรียนการสอนจะทำให้การประเมินในลักษณะดังนี้มีความชัดเจนขึ้น และการประเมินแบบอิงเกณฑ์ โดยประเมินผู้เรียนแต่ละคนเปรียบเทียบกับเกณฑ์กับมาตรฐานที่กำหนดไว้ หรือเปรียบเทียบจุดประสงค์ ในลักษณะนี้จะทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความร่วมมือกันมากขึ้นที่จะแข่งขันกัน เพราะการสร้างสถานการณ์ในชั้นเรียน หรือในสถานศึกษาให้ผู้เรียนด้วยความร่วมมือกันนั้นย่อมมีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากกว่าการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการแข่งขันกัน นอกจากนี้ยังเป็นการเพราะนิสัยที่พึงปรารถนา ให้แก่ผู้เรียน เพราะหากจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเป็นพื้นฐานแล้วผู้เรียนจะติดนิสัยการให้ความร่วมมือกับผู้อ่านในภายหน้าจะทำให้สังคมได้เยาวชน นักการเมืองและผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาต่างๆที่เห็นแก่ส่วนร่วมมีความเป็นประชาธิปไตย ยอมรับความคิดเห็นและปฎิบัติตามมติของกลุ่ม ซึ่งการออกแบบการเรียนการสอนจะสนองความต้องการของผู้เรียนผู้สอนในจุดนี้ได้ด้วยการวางแผนออกแบบการเรียนการสอนที่สมบูรณ์ (กาญจนาและลัดลา, 2537)


อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การออกแบบและการจัดการเรียนรู้

การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ (30400303) Instructional Design and Management  จัดทำโดย นาย ดนุสรณ์ ฐิตญาณ นักศึกษาชั้นปีท...