องค์ความรู้ประจำสัปดาห์

Week 1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม

                                          บลูม (Benjamin Bloom)


      ทฤษฎีการเรียนรู้ของเบนจามิน บลูมและคณะ (Bloom et al, 1956) ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
ออกเป็น 3 ด้าน คือ
         1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
         2. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
         3. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain)
      พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
      (พฤติกรรมด้านสมอง)
            เป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถใน

การคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความ
สามารถทางสติปัญญา
พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ ได้แก่
            1. ความรู้ความจำ ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้

และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดัง
เทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้ สามารถเปิดฟังหรือ 
ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
            2. ความเข้าใจ เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ และสามารถแสดงออกมา
ในรูปของการแปลความ ตีความคาดคะเน 
ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
            3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหา
ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความ
รู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
            4. การวิเคราะห์ ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์
ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัม
พันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่
ละคน
            5. การสังเคราะห์ ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมี
ระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่า
เดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายการกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงาน
ขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้าง
ความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้น
มาในรูปแบบ หรือ แนวคิดใหม่
            6. การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง
 
ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์
ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
      จิตพิสัย (Affective Domain)
      (พฤติกรรมด้านจิตใจ)
             ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้

อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้
พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่
พึ่งประสงค์ได้ ด้านจิตพิสัยจะประกอบด้วยพฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
             1.การรับรู้ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นไปใน
ลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้น
ว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
             2. การตอบสนอง เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และพอใจต่อ
สิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจาก
การเลือกสรรแล้ว
             3. การเกิดค่านิยม การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือในคุณ
ค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
             4. การจัดระบบ การสร้างแนวคิด จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ถ้าเข้า
กันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอม
รับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า
             5. บุคลิกภาพ การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว ให้ประพฤติปฏิบัติ
แต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้ จะ
เกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยาย
กลายเป็นความรู้สึกด้านต่างๆ จนกลายเป็นค่า
นิ
ยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่ว
อย่างไรนั้น ก็เป็นผล
ของพฤติกรรมด้านนี้
      ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
      (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
             พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดง

ออก
มาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย  
ประกอบด้วยพฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้
              1. การรับรู้ เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ เป็นการเลือกหาตัวแบบ
ที่สนใจ
              2. กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึก

ตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถ
ปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
               3. การหาความถูกต้อง พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ 
เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความ
ถูกต้องในการปฏิบัติ
               4. การกระทำอย่างต่อเนื่อง หลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูป
แบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จปฏิบัติงานที่ยุ่งยาก
ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำ
อย่าสม่ำเสมอ
               5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่องจนสามารถ
ปฏิบัติ 
ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติ
ในระดับ
สูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การออกแบบและการจัดการเรียนรู้

การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ (30400303) Instructional Design and Management  จัดทำโดย นาย ดนุสรณ์ ฐิตญาณ นักศึกษาชั้นปีท...