งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน
งานของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการด้านความรู้ความชำนาญ ผลผลิตที่ได้และสถานการณ์ของงาน ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะวิเคราะห์ภารังานภายใต้การนิเทศของผู้จัดการโครงการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการพัฒนา ผู้จัดการโครงการอาจจะนำทีมซึ่งพัฒนาการประชุมเชิงปฏิบัติการสามวันสำหรับการอุตสาหกรรม (three-day workshop) การออกแบบไม่จำเป็นต้องเป็นทีมเสมอไปในองค์กรเล็กๆ อาจจะใช้ผู้ออกแบบเพียงคนเดียว ในการทำภาระการออกแบบการเรียนการสอน
1. งานออกแบบ พิสัยของงาน (job) เป็นไปตามสถานการณ์ และระดับที่แตกต่างกันของผู้ชํานาญการ บางครั้งผู้ออกแบบการเรียนการสอนทําหน้าที่เหมือนเป็นผู้ชํานาญการในขั้นตอนหนึ่งของ กระบวนการ ในบางงานเรียกผู้ออกแบบว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่มีสมรรถภาพในการดําเนินโครงการตั้งแต่ เริ่มต้นจนสิ้นสุด พิสัยของงานไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษแต่บาง งานต้องการระดับความแตกต่างของผู้ชํานาญการ (expertise) ในตารางที่ 6 แสดงให้เห็นถึงระดับของ ผู้ชํานาญการในงานการออกแบบการเรียนการสอน
โดยปกติงานในโรงเรียนรวมถึงหน้าที่ในการออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของตําแหน่งอื่นๆ เช่น ผู้นิเทศหลักสูตร (curriculum supervisor) ผู้ชํานาญการด้านสื่อ (media Specialist) นักเทคโนโลยีการเรียนการสอน (instructional technologist)เมื่อเปรียบเทียบกับ สถานการณ์อื่นๆ แล้ว ผลกระทบที่เกิดจากการออกแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับต่ํา
เหตุผลบางประการที่การออกแบบการเรียนการสอนให้ผลกระทบในระดับต่ํา คือ ครูยึดติด กับธรรมชาติดั้งเดิมของโรงเรียน ติดแน่นอยู่กับตารางกําหนดงานประจําวัน การพิจารณาให้ทุนกับ โรงเรียนมีน้อย การที่จะทําให้การออกแบบการเรียนการสอนมีความโดดเด่นขึ้นในสถานการณ์ภายใน โรงเรียนต้องมีการเปลี่ยนแปลงสามประการ คือ 1.ลดจํานวนเวลาที่ใช้โดยครูและนักเรียนในชั้นเรียน แบบดั้งเดิม (traditional classers) 2. ส่งเสริมการเรียนการสอนรายบุคคลในหลักสูตรให้มากขึ้น และ 3. ใช้ระบบการสอนที่สิ้นเปลืองงบประมาณน้อย(low cost) (Sees, and Glasgow, 1990 : 14)
ตารางที่ 6 ตัวอย่างระดับผู้ชำนาญการในงานออกแบบการเรียนการสอน
ระดับพื้นฐาน : ผู้ออกแบบการเรียนการสอนทำงานในส่วงของโครงการ ภายใต้ทิศทางของผู้ออกแบบคนอื่นๆ การทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนที่มีอยู่ ผู้ออกแบบการทำงานในโครงการเล็กๆ หรือทำในส่วนหนึ่งของโครงการ
ระดับกลาง : ผู้ออกแบบการเรียนการสอนรับผิดชอบในการพัฒนารายวิชา กรทอรับผิดชอบโครงการใหญ่ที่ออกแบบซ้ำ (Redsign) ผู้ออกแบบอาจจะเป็นหัวหน้าทีมในโครงการขนาดเล็กหรือขนาดกลาง
ระดับก้าวหน้า : ผู้ออกแบบการเรียนการสอนเกี่ยวข้องอย่างมากในการจัดโครงการและเขียนโครงร่าง (Proposal writing) ผู้ออกแบบอาจจะชี้นำการประเมินผลตามความต้องการจำเป็น (Direct need assessment) หรือประเมินผลการศึกษา ซึ่งต้องตัดสินทิศทางของโครงการ ผู้ออกแบบนิเทศ ผู้นำทีมและผู้ออกแบบสามารถที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบโครงการใหญ่ได้
|
ที่มา : Barbara Seels, and Zita Glasgow, Exercises in instructional Design (Columbus, Ohio) Merrill Publoshing Company, 1990), p. 9.
2.ผลิตผลของการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นงานที่ตั้งสมมติฐานไว้ หรืองานในหน้าที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลาย ของผลิตผลก็ตาม จะมีขอบเขตที่แตกต่างและซับซ้อน งานการออกแบบการเรียนการสอนก็เช่นกัน ขอบเขตรวมถึงความแตกต่างของขนาดและเนื้อหาความซับซ้อนรวมถึงความแตกต่างของหลักสูตร หรือสื่อ ในระดับที่เล็กที่สุดของขอบเขต คือ แผนการสอน (lesson plans) และหน่วยหรือชุดโมดุล (modules) ระดับต่อไปรวมถึงรายวิชา (courses) และหน่วย (unit) รายวิชาหลักสูตรและสิ่งแวดล้อม เป็นตัวอย่างของผลิตผลที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ ระดับสูงสุดของระดับความซับซ้อน คือ สื่อการเรียนรู้ ซึ่งมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยอาศัยสื่อทางโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย ระดับ ต่ําสุดของความซับซ้อน คือ กระดาษและดินสอน และสําหรับโสดทัศนวัสดุ เป็นระดับกลางของความซับซ้อน (Seels, and Glasgow, 1990 : 14)
ทางเลือกการออกแบบการเรียนการสอนหลาหลายไปตามสถานการณ์ (Settings) งาน (Job) และผลิตผล (Products) ดังปรากฏในภาพที่ 1 แต่ละเซลล์ (Cell) ในภาพจะเป็นมาตรฐานสำหรับตำแหน่งการออกแบบการเรียนการสอนและความจำกัดของตำแหน่งนั้น
ที่มา : Barbara Seels, and Zita Glasgow, Exercises in instructional Design (Columbus, Ohio) Merrill Publoshing Company, 1990), p. 17.
สรุปได้ว่า งานผลิตของการออกแบบกาเรียนการสอน ผู้ออกแบบการเรียนการสอนบางครั้งทำหน้าที่เป็นผู้ชำนาญการ บางครั้งเป็นผู้ปฎิบัติการที่มีสมรรถภาพ เป็นผู้นิเทศ เป็ผู้ชำนาญการด้านสื่อ เป็นนักเทคโนโลยีการสอน เป็นผู้จัดการเรียนการสอน ผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน เช่น แบบการสอน ชุดการสอนรายวิชา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ กาเรียนการสอนด้วยตนเองโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน หลักสูตร และแบบฝึกปฎิบัติ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น