องค์ความรู้ประจำสัปดาห์

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

WEEK 8

ทักษะการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21




สรุป

        AI (เอไอ) นั้นถูกเอามาใช้ในงานแทนมนุษย์หลายอย่าง เช่น Call Center (คอล เซนเตอร์) ต่าง ๆ เพื่อลดการใช้แรงงานคน และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า แต่อนาคต AI จะสามารถมาแทนการทำงานที่ซับซ้อนของคนได้แน่นอน เช่น การวางแผน การทำกลยุทธ์ทางการตลาด และการสร้างเนื้องาน Content (คอนเทน) ต่าง ๆ
ฉะนั้น การเรียนรู้ที่จะปรับตัว และเรียนรู้ที่จะใช้ AI ให้เป็นประโยชน์นั้นจะมีความสำคัญมากต่อธุรกิจในอนาคต และทำให้ธุรกิจนั้นมีความได้เปรียบนั้นอย่างแน่นอน 
        องค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็น เพื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานศตวรรษที่ 21 การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาอาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ จะต้องสอดคล้องกับระบบสนับสนุนการผลิตที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนในปัจจุบัน



วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

WEEK 5

เทคนิคผึ้งแตกรัง
วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิคการใช้ผังกราฟิก
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



WEEK 4

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
KWLH


WEEK 3

วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน





WEEK 2

ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน 
นิยามการออกแบบการเรียนการสอน
ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน
สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน




หลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอน

หลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอน


        ในการออกแบบการเรียนการสอนมีหลักการพื้นฐานที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควร คำนึงถึงเพื่อช่วยให้การออกแบบการเรียนการสอนมีคุณภาพ ดังนี้ (Gagné, Wager, Golas, & Keller, 2005, pp. 2-3; Smith & Ragan, 1999, p.18)

        1. คำนึงถึงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นเป้าหมายสำคัญ การออกแบบการเรียนการสอนมี จุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ มากกว่ากระบวนการสอน ผู้ออกแบบการเรียนการสอน จะต้องพิจารณาผลการเรียนรู้อย่างชัดเจน เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการเลือกกระบวนการเรียน การสอน กิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

        2. คำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ได้แก่ การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับ ผู้เรียน เวลาที่ใช้ คุณภาพการสอน เจตคติและความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ปัจจัยเหล่านี้ควร นำมาพิจารณาในการออกแบบการเรียนการสอน

        3. รู้จักประยุกต์ใช้หลักการเรียนการสอน วิธีสอน รูปแบบการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับ ระดับวัยของผู้เรียนและเนื้อหาสาระ เพื่อให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมทั้ง ทางด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจในกิจกรรมการเรียนการสอน

        4. ใช้วิธีการและสื่อที่หลากหลาย ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควรเลือกใช้สื่อที่ช่วยให้การ เรียนรู้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และความแตกต่างในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น

        5. มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเรียนการสอนที่มีคุณภาพควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการวางแผน การนำไปทดลองใช้จริง และนำผลการทดลองและข้อเสนอแนะจากผู้เรียนมา ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้จะทำให้การเรียนการสอน มีคุณภาพ

        6. มีการประเมินผลครอบคลุมทั้งกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียน ทั้งนี้ เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และน่าสนใจ มากขึ้น การประเมินผลผู้เรียน ไม่ควรมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อทราบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเท่านั้น แต่ ควรให้ได้ข้อมูลที่นำไปพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้

        7. องค์ประกอบการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์กัน องค์ประกอบการเรียนการสอน เช่น จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ควรมีความสัมพันธ์สอดคล้อง กัน และเหมาะสมกับผู้เรียนและบริบทการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการ
      
          หลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนที่นำมากล่าวข้างต้นนี้เป็นแนวทางทั่วไป สำหรับนักออกแบบการเรียนการสอนที่เริ่มต้นการท างานในด้านนี้ได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ สภาพและบริบทการเรียนการสอน

WEEK 1

ประมวลรายวิชา
INFOGRAPHIC ประวัติโดยสังเขปของการออกแบบการเรียนการสอน
ความหมายของการออกแบบ
หลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอน
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดด์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของโรเบิร์ต กาเย
ทฤษฏีการเรียนรู้ของมาสโลว์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของจอห์น ดิวอี้
ทฤษฎีการเรียนรู้ของออซูเบล
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเพียเจต์
ทฤษฎีการเรียนรู้โรเบิร์ต เจ.ฮาวิกเฮิร์ส
ทฤษฎีการเรียนรู้ของโคลเบิร์ก

การออกแบบและการจัดการเรียนรู้

การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ (30400303) Instructional Design and Management  จัดทำโดย นาย ดนุสรณ์ ฐิตญาณ นักศึกษาชั้นปีท...