การสอนแบบโครงสร้างความรู้(Graphic Organizer)
การสอนแบบโครงสร้างความรู้(Graphic Organizer)
การสอนแบบโครงสร้างความรู้(Graphic Organizer)
การ สอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังความคิด เป็ นการฝึ
กให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลหรือความรู้ จากการศึกษาค้นคว้า การอ่าน การฟังคําบรรยาย
แล้วนําข้อมูลมาจัดกลุ่ม เขียนเป็ นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้าง ความคิด
กระบวนการคิด และความสัมพันธ์ของกระบวนการคิด โดยใช้รูปภาพ หรือแผนภาพ
1. แผนผังความคิด (Mind Mapping) เป็น
การแสดงโครงสร้างของความสัมพันธ์ของกระบวนการคิด ตั้งแต่ต้นจนจบ ช่วยให้มองเห็น
ภาพรวมของความคิดและเค้าโครงของความคิดในเรื่องที่กาลังคิด
ทําให้มองเห็นความสัมพันธ์ของความคิดทําได้โดยเขียนความคิดหลักไว้ตรงกลาง
และโยงเส้นให้สัมพันธ์กับความคิดรองความคิดย้อย และความคิดที่แยกย่อยที่มี
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันก็ขยายได้ต่อไปอีก ไม่มีทิศทางที่กำหนดแน่นอนตายตัว
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้(Tree Structure)
ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ จะ
ใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ของเรื่องที่มีความสำคัญลดหลั่งกันเป็นลำดับจาก ใหญ่ไปหาจุดเล็กๆ
รูปร่างของการเขียนจะมีโครงสร้างลักษณะคล้ายต้นไม้ที่มีกิ่งก้านหรืออาจจะมี
ลักษณะคล้ายแผนภูมิการบริหารองค์กรวิธีการเขียนให้เริ่มต้นหัวข้อเรื่องไว้
ข้างบนหรือตรงกลางแล้วลากเส้นให้เชื่อมโยงกับความคิดรวบยอดอื่นๆที่มีความ
สำคัญรองรองลงไปตามลำดับ
แผนผังรูปแบบเวนน์
( Venn Diagram)
เป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสิ่งของหรือแนวคิดตั้ งแต่2 สิ่ง ขึ้นไปว่าส่วนใดลักษณะใดที่ มีความเหมือนหรือความต่างกัน
เป็นการคิดแบบหาตัวร่วมในสิ่งที่เหมือนกัน ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักจําแนกความ
เหมือนและความต่างของสิ่งของ สถานที่ และบุคคล หรืออื่นๆได้ดี
โดยการเขียนเป็นแผนภาพแสดง ความสัมพันธ์ ดังตัวอย่างนี้
แผนผังความคิดแบบวงจร (The Circle)
เป็น การคิดแบบเป็นวงจรหรือวงกลม
โดยในวงกลมจะไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดจบเพื่อเสนอขั้นตอนต่างๆที่สัมพันธ์
เรียงลําดับเป็นวงกลม ตัวอยางเช่น
แผนผังก้างปลา
(The Fish Bone)
เป็นการคิดหาสาเหตุของปัญหา เช่น แดงหนีเรียน เพราะสาเหตุใด เป็นต้นการเขียนแผนผังทําได้
โดยกำหนดเรื่องแล้ว หาสาเหตุและผลต่างๆในแต่ละด้าน
ตัวอย่างเช่น
แผนผังแบบลำดับขั้นตอน(sequence chart)
แผนผังบบลำดับขั้นตอนเป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพการณ์หรือเนื้อหาสาระ
ที่เป็นกระบวนการเรียงตามลำดับขั้นตอน
เป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่เป็นกระบวนการ
เรียงตามลำดับต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น