ลักษณะที่ดีของแผนการจัดการเรียนรู้
สมนึก
ภัททิยธนี (2546 : 5) ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของแผนต้องมีขั้นตอน
ดังนี้
1. เนื้อหาต้องเขียนเป็นรายคาบ
หรือรายชั่วโมงตารางสอน โดยเขียนให้
สอด คล้องกับชื่อเรื่องให้อยู่ในโครงการสอน
และเขียนเฉพาะเนื้อหาสาระสำคัญพอสังเขป (ไม่ควรบันทึกแผนการสอนอย่างละเอียดมาก
ๆ เพราะจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย)
2. ความคิดรวบยอด (Concept) หรือหลักการสำคัญ ต้องเขียนให้ตรงกับเนื้อหาที่
จะสอนส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจของเรื่องครูต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนจนสามารถเขียนความคิดรวบยอดได้อย่างมีคุณภาพ
3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
ต้องเขียนให้สอดคล้อง กลมกลืนกับความคิดรวบ
ยอด
มิใช่เขียนตามอำเภอใจไม่ใช่เขียนสอดคล้องเฉพาะเนื้อหาที่จะสอนเท่านั้นเพราะจะได้เฉพาะ
พฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรู้ความจำ
สมองหรือการพัฒนาของนักเรียนจะไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
โดยยึดเทคนิคการสอนต่างๆ ที่จะช่วยให้นักเรียน
เกิดการเรียนรู้
5. สื่อที่ใช้ควรเลือกให้สอดคล้องกับเนื้อหา
สื่อดังกล่าวต้องช่วยให้นักเรียนเกิด
ความเข้าใจในหลักการได้ง่าย
6. วัดผลโดยคำนึงถึงเนื้อหา
ความคิดรวบยอด จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและช่วง
ที่ทำการวัด (ก่อนเรียน
ระหว่างเรียน หลังเรียน) เพื่อตรวจสอบว่าการสอนของครูบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
ประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้
ถ้า ครูได้ทำแผนการสอนและใช้แผนการสอนที่จัดทำขึ้น
เพื่อนำไปใช้สอนในคราวต่อไป แผนการสอนดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2544
: 134)
1. ครูรู้วัตถุประสงค์ของการสอน
2. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจ
3. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
4. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
5. ถ้าครูประจำชั้นไม่ได้สอน
ครูที่มาทำการสอนแทนสามารถสอนแทนได้ตาม
จุดประสงค์ที่กำหนด
การวางแผนการจัดการเรียนรู้
การวางแผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การตีความหมายของหลักสูตร และการกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรที่จะต้องนำมาจัดการเรียนการสอน
ให้แก่ผู้เรียน ผลจากการวางแผนจะได้
คู่มือที่ใช้เป็นแนวทาง
เรียกว่ากำหนดการสอน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ.
2544 : 2 – 7)
1. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร ได้แก่
หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง เวลาเรียนแนว
ดำเนิน การในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ตอบสนองจุดประสงค์การเรียนรู้
และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การวัดและการประเมินการเรียน คำอธิบายในแต่ละกลุ่มประสบการณ์
ซึ่งระบุเนื้อหาที่ต้องให้นักเรียนได้เรียน ตามลำดับขั้นตอนกระบวนการที่ต้องให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ
และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้
2. ศึกษาความสอดคล้องสัมพันธ์กันกับองค์ประกอบแต่ละส่วนของหลักสูตร
3. ลำดับความคิดรวบยอดที่จัดให้นักเรียนแต่ละระดับชั้นได้เรียนรู้ก่อนหลัง
โดย
พิจารณาขอบข่ายเนื้อหา
และกิจกรรมที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชา
4. กำหนดผลที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน
เมื่อได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดแต่ละ
เรื่องแล้ว
5. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้ในคำอธิบาย
รายวิชา
หรืออาจพิจารณาจากกิจกรรมที่เหมาสมกับเนื้อหาสาระ
6. กำหนดเวลาเรียนให้เหมาะสมกับขอบข่ายเนื้อหาสาระหรือความคิดรวบยอด
จุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมที่กำหนดไว้
7. รวบรวมรายละเอียดตามกิจกรรมข้อ 1
– 6 จัดทำเป็นเอกสารที่เรียกว่ากำหนด
การสอนหรือแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมแผนการสอนต่อไป
การเตรียมการสอนและการปฏิบัติการสอน
การเตรียมการสอนเริ่มด้วยการจัดทำแผนการสอน
ซึ่งเป็นผลมาจากการวางแผน มาสร้าง
เป็นแผนการสอนย่อยๆ องค์ประกอบที่สำคัญของแผนการสอน ควรมีดังนี้
(สำลี รักสุทธี และคณะ.2541 : 7)
1. สาระสำคัญ
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
3. เนื้อหา
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
5. สื่อการเรียนการสอน
6. การวัดและประเมินผลการเรียน
รายละเอียดแผนการเรียนรู้
แผนการเรียนรู้ (Lesson Plan) ประกอบด้วย 9 หัวข้อ
โดยการบูรณาการของหน่วยศึกษานิเทศก์ (สำลี รักสุทธี และคณะ. 2541 : 136 –
137)
1. สาระสำคัญ (Concept) เป็นความคิดรวบยอดหรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่
ต้องการให้เกิดกับนักเรียน
เมื่อเรียนตามแผนกาสอนแล้ว
2. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning
Objective) เป็นการกำหนดจุดประสงค์ที่
ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
เมื่อเรียนจบตามแผนการสอนแล้ว
3. เนื้อหา (Content) เป็นเนื้อหาที่จัดกิจกรรมและต้องการให้นักเรียนเกิดการ
เรียนรู้
4. กิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional
Activities) เป็นการสอนขั้นตอนหรือ
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ซึ่งนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด
5. สื่อและอุปกรณ์ (Instructional Media) เป็นสื่อ และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม
การเรียนการสอน
ที่กำหนดไว้ในแผนการสอน
6. การวัดผลและประเมินผล (Measurement and
Evaluation) เป็นการกำหนด
ขั้นตอนหรือวิธีการวัดและประเมินผล
ว่านักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ในกิจกรรมการเรียน
การสอน แยกเป็นก่อนสอน
ระหว่างสอน และหลังสอน
7. กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมที่บันทึกการตรวจแผนการสอน
8. ข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา เป็นการบันทึกตรวจแผนการสอนเพื่อเสนอ
แนะหลังจากได้ตรวจสอบความถูกต้อง
การกำหนดรายละเอียดในหัวข้อต่างๆ ในแผนการสอน
9. บันทึกการสอน เป็นการบันทึกของผู้สอน หลังจากนำแผนการสอนไปใช้แล้ว
เพื่อเป็นการปรับปรุงและใช้ในคราวต่อไป
มี 3 หัวข้อ คือ
9.1 ผลการเรียน
เป็นการบันทึกผลการเรียนด้านสุขภาพและปริมาณทั้ง
3 ด้าน คือด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งกำหนดในขั้นกิจกรรมการเรียนการสอนและ
การประเมิน
9.2 ปัญหาและอุปสรรค เป็นการบันทึก
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น
ในขณะสอน ก่อนสอน
และหลังทำการสอน
9.3 ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
เป็นการบันทึกข้อเสนอแนะเพื่อ
แก้ไขปรับปรุงการเรียนการสอน
ให้เกิดการเรียนรู้ บรรลุจุดประสงค์ของบทเรียนที่หลักสูตรกำหนด
รูปแบบของแผนการเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น