ตัวอย่าง แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ตัวอย่าง แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
คำชี้แจง
1.ให้ท่านประเมินแผนการเรียนรู้ที่เขียนขึ้นมาโดยตัวท่านเองว่าในรายการประเมินอยู่
ในระดับใด
โดยทำเครื่องหมาย / ลงในช่องที่กำหนดให้ และการให้นำหนักของคะแนนตาม
ความหมาย ดังนี้
5 หมายถึง ดีมาก
4 หมายถึง ดี
3 หมายถึง พอใช้
2 หมายถึง ปรับปรุง
1 หมายถึง ใช้ไม่ได้
การแปลผลของการประเมินผล
แผนการเรียนรู้
80 – 100 อยู่ในระดับดีมาก
60 – 79 อยู่ในระดับดี
40 - 59 อยู่ในระดับพอใช้
20 - 39 อยู่ในระดับปรับปรุง
ตารางที่
แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
แนวทางการรวบรวมและสรุปรายงานผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้การรวบรวมแผน
การเรียนรู้เป็นรูปเล่ม
แผนการเรียนรู้ที่ใช้ประกอบการสอนตลอดปีการศึกษานั้น
เมื่อสิ้นปีการศึกษาแล้วควร
จัดเก็บรวบรวมแผนการจัดการเรียนรู้ไว้เป็นรูปเล่มเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาแผนการที่มีที่มี
ประสิทธิภาพต่อไป
ซึ่งการรวบรวมแผนการจัดการเรียนรู้เป็นรูปเล่มนั้น ควรประกอบด้วยดังนี้
ส่วนที่ 1 คำอธิบายรายวิชา และผลการวิเคราะห์หลักสูตร
โดยจำแนกให้เห็นได้ว่า
แยกแยะจุดประสงค์
เนื้อหา และเวลาที่ใช้สอนแต่ละเนื้อหาอย่างไร
ส่วนที่ 2 ตารางสอนของครูผู้ทำการสอน
ส่วนที่ 3 แผนการเรียนรู้ หรือบันทึกการสอนทั้งหมด
ส่วนที่ 4 ภาคผนวก ประกอบด้วยเอกสารหรือสื่อต่าง ๆ
ที่ใช้ประกอบการสอน
แต่ละครั้ง
การจัดทำรายงานผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อสิ้นปีการศึกษา
ครูผู้สอนควรมีการสรุปผลการสอนของตนเอง โดยสรุปผลการสอน
ในรูปของเอกสาน “รายงานผลการใช้แผนการเรียนรู้” เพื่อที่จะเป็นแนวทางการปรับปรุงและ
พัฒนาการเรียนการสอนของตนเองได้อย่างเป็นระบบ
ในเอกสารการรายงานผลการเรียนรู้ควร
ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 เกริ่นนำ จะประกอบด้วย หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา
จุดหมาย
หลักการสอน
แนวการนำหลักสูตรไปใช้กับผู้เรียน
ตอนที่ 2 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3)
โครงสร้าง เนื้อหา
จุดหมาย คำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์การเรียนรู้ ขอบข่ายเนื้อหาที่ใช้ประกอบ
การสอนกิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน เครื่องมือวัดผลอื่นๆ
ตอนที่ 3 ผลการสอน เป็นสิ่งที่ได้จากการใช้แผนการเรียนรู้ที่ผลการสอนอาจจะ
เป็น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งภาคความรู้
ภาคปฏิบัติ ความสามารถทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เจตคติทางวิทยาศาสตร์ หรือความสามารถทางวิทยาศาสตร์ในสมรรถภาพอื่น
ๆ ระหว่างเรียน ปลายภาค หรือปลายปี เป็นของผู้เรียนเป็นรายบุคคล รายห้องเรียน
หรือรายชั้นเรียน เป็นต้น
ตอนที่ 4 สรุปผลการเรียน อภิปรายผล
และข้อเสนอแนะการจัดทำแผนการเรียนรู้
การใช้แผนการเรียนรู้
แผนการสอนที่ดีควรยึดหลักการเขียน
ดังนี้ ภาษาเข้าใจง่าย และสามารถสื่อได้ตรงกัน
ไม่ว่าใครใช้สอนก็เข้าใจตรงกัน
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2537 : 201 – 208) ได้ให้ทัศนะว่า การเขียนแผนที่ดีนั้น ควรเขียน
ครอบคลุมเนื้อหา
และต้องไม่เขียนพฤติกรรมของครูลงในแผนการสอน พึงระลึกเสมอว่านักเรียนเป็น
ผู้แสดง
ครูเป็นเพียงผู้แนะนำ แบบเรียนหรือแผนใดๆ
มิใช่คัมภีร์หรือกฎหมายที่ครูต้องปฏิบัติตามไป
เสียหมด
จะต้องนำไปพิจารณาถึงความเหมาะสม ปรับใช้ให้เหมาะสมแก่บุคคล โอกาสและสถานที่
จึงนับว่าเป็นครูที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
การทำแผนการสอน
ไม่ว่าจะเป็นลักษณะและรูปแบบใด จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้เป็น
สำคัญ
1. จุดประสงค์การเรียนรู้ต้องชัดเจน
2. กิจกรรมควรนำไปสู่ผลการเรียนตามจุดประสงค์ได้จริง
3. ระบุพฤติกรรมนักเรียนและพฤติกรรมครูผู้สอนอย่างชัดเจน
ในการอำนวย
ความสะดวกแก่นักเรียนให้เกิดการเรียนรู้
4. สื่อการเรียนการสอนจะต้องมีคุณค่า
มีความหลากหลาย ทั้งของจริง ภาพ
แผนภูมิ เอกสาร
ใบความรู้
5. วิธีการวัดผลควรชัดเจนตามจุดประสงค์การเรียนรู้
แผนการสอนที่มีคุณภาพ
จะแสดงถึงการเตรียมความพร้อมของครูในการพัฒนาอาชีพอีก
ด้วย
สิ่งสำคัญควรเริ่มลงมือศึกษาและทำแผนการสอนตลอดทั้งนำไปใช้แล้วบันทึกผลลงด้วยจึงจะเกิดประโยชน์ต่อตัวนักเรียนอย่างสูงสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น